การทำงาน ของ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ที่สืบเชื้อสายกันต่อมายังได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้ามาปลูกในพื้นดินทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นไม้ที่ผลิตผลเป็นยางคือยางพารา ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ให้ผลิตผลที่มีคุณค่าในการอุตสาหกรรม และเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของประเทศรองมาจากข้าวในสมัยนั้นและต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ในตำแหน่งจางวางเมืองระนองซึ่งเทียบเท่าเจ้าเมืองสมัยนั้น นายคอซู้เจียงผู้นี้เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดในบ้านแอซู่ (จิวหู)[10] เขตแขวงเมืองเจียงซิวฮู มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ได้เดินทางจากจีนเข้ามาแต่หาได้ตรงเข้ามาในกรุงเทพมหานครเหมือนคนจีนแซ่อื่น นายคอซู้เจียง ได้ศึกษาภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ของสยามมาก่อนแล้ว และได้รู้ว่าทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีเหมืองแร่ มีป่าไม้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตในทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมอยู่เป็นอันมาก จึงเข้ามาทำธุรกิจการค้าตามแบบของคนจีนโดยทั่วไป แต่ด้วยความขยันพยายามและฉลาด จึงทำให้การค้าเจริญก้าวหน้าเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในเมืองสมัยนั้น

จีนคอซู้เจียงได้สมรสกับคนสยามในจังหวัดพังงา มีบุตรด้วยกันหลายคน และได้รับราชการมีตำแหน่งสูงในระดับผู้ว่าราชการจังหวัดจนกระทั่งเป็นสมุหเทศาภิบาลบางคน ในจำนวนบุตรชายของนายคอซู้เจียง ทุก ๆ คนซึ่งมีจำนวน 6 คน ได้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระยาทุกคน และได้รับราชการในจังหวัดภาคใต้ในตำแหน่งที่ใหญ่ทุกคน และบุตรชายคนหนึ่งของนายคอซู้เจียงได้เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 เพราะความเป็นเถ้าแก่ใหญ่และเป็นพ่อค้าที่ไม่ค้าเฉพาะภายในประเทศไทยแต่เป็นพ่อค้าส่งออกคนแรกในเมืองพังงา จึงทำให้นายคอซู้เจียง หาทางขยับขยายในการที่จะหาสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศและขายตามที่ใกล้เคียงให้มากขึ้น และนี่เองเป็นเหตุให้นายคอซู้เจียง ได้มาเป็นคนจีนที่ยิ่งใหญ่ในเมืองระนองจนได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ณ ระนอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.mediathai.net/module/travel/travel_arti... http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_order.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/E/... https://web.archive.org/web/20081224222835/http://... https://web.archive.org/web/20110105063640/http://... https://web.archive.org/web/20160304195701/http://... https://web.archive.org/web/20221022062323/https:/... https://web.archive.org/web/20221022063232/https:/...